บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพุธ ที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้ทำกิจกรรมวาดรูปมือที่อยู่กับตัวเองมาตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบัน ให้วาดโดยใส่ถุงมือไว้อีกข้างเพื่อดูว่าตัวเราสามารถจดจำรายละเอียดสิ่งที่อยู่กับเรามาตลอดมาหรือไม่ วาดเสร็จแล้วให้ถอดถุงมือดูว่าภาพที่วาดเหมือนของจริงไหม
ภาพมือของดิฉัน
ภาพมือที่ดิฉันวาดออกมามีส่วนที่คล้ายมือจริงบ้าง บางส่วนยังจดจำรายละเอียดไม่ค่อยได้
ภาพวาดมือตัวเองเปรียบได้กับเด็กเวลาเราอยู่กับเด็กต้องมีการจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กไม่ใช่รอเวลาที่ว่างถึงจะจดบันทึกเพราะอาจจะทำให้ครูลืมได้ เหมือนภาพมือที่เราวาดขณะอยู่กับเรามาตลอดช่วงชีวิตเรายังจำลายละเอียดไม่ครบทุกอย่าง
เนื้อหาที่เรียนวันนี้ เรื่องการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
-จะต้องมองเด็กให้เป็น ที่สำคัญอย่าไปแบ่งแยกเด็ก
-สายตาที่ครูมองเด็ด เด็กจะสัมผัสได้ว่าครูมองเขาเหมือนเช่นที่มองคนอื่นหรือเปล่า
การฝึกเพิ่มเติม
- อบรมระยะสั้น , สัมมนา
- สื่ิอต่างๆ
- ถ้าเข้าสอนในโรงเรียนทางโรงเรียนจะจัดอบรมให้
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
- ครูต้องเรียนรู้, มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- รู้จักเด็กแต่ละคน
- มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
- มองเด็กให้ออกแล้วเก็บไว้ในใจ
- เวลาสอนมองเด็กทุกคนอย่าชะงักที่ใครสักคนเพราะเด็กจะรู้ตัว
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ เด็กแต่ละคนจะต่างกัน
- แรงจูงใจ เด็กแต่ละมีแรงจูงใจต่างกัน
- โอกาส เด็กแต่คนมีโอกาสเท่าเทียมกัน
การสอนโดยบังเอิญ
- ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
- เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสสอนมากขึ้นเท่านั้น
- เด็กพิเศษจะเข้ามาหาครูเพื่อขอความช่วยเหลือเวลาเขามีปัญญา เช่น สีเทียนกุ้นเด็กจะมาขอความช่วยเหลือ ครูสามารถสอนโดยบังเอิญได้จากการแกะสี
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
- ครูต้องมีความสนใจเด็ก
- ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
- ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
- ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
- ถ้าเด็กมาปรึกษาครูอย่าไปใช้เวลานานเกินกับเด็กคนใดคนหนึ่ง ต้องแบ่งเวลาให้ดี
อุปกรณ์
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
- เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
- กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได่้
- เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นคง
- การสลับกิจกรรมที่ิอยู่นิ่งๆ กับเคลื่อนไหวมากๆ
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของเด็กต่ละคน
- แผนการจัดประสบการณ์บางครั้งแผนที่เขียนมาไม่เหมาะสมต้องสามารถคิดแผนใหม่สดขึ้นมาสอนแทน
- กิจกรรมที่เตรียมมาไม่เหมาะสมไม่ต้องดันทุลัง ต้องมีความยืดหยุ่นบ้าง
การใช้สหวิทยาการ
- ใจกว้างต่อคำแนะะนบุคคลำในอาชีพอื่นๆ
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
- ร้องให้เป็น ร้องให้เก่ง ร้องให้ตรงคีย์
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดความสามารถ
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
- เด็กที่เรียนไม่ได้ส่วนใหญ่ขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
- ยิ่งมีแรงเสริมพฤติกรรมยิ่งเกิด
- ครูต้องยืนใกล้ๆเมื่อเด็กคนนั้นเรียกร้องความสนใจเอง
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวาจา
- การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
- พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
- สัมผัสทางกาย กอดเด็ก สัมผัสเด็ก
- ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท ( prompting )
- ย่อยงาน
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การลำดับงานเป็นแรงเสริมเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคาระห์งาน กำหนดจุดประสงย่อยๆในแต่ละขั้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมสย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
- เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย่อยมาจากข้างหลัง
- ขั้นแรกให้น้องจำเอง น้องทำได้แล้วให้ทำขั้นสอง-ขั้นสามต่อไป
เด็กตักซุป
เป็นเรื่องยากมากสำหรับเด็กเพราะเด็กจะตักหก
- การจับช้อน
- การตัก
- การระวังไม่ให้นำ้ในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
- การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
- การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรืของเล่นออกไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
ก่อนหมดชั่วโมงเรียนอาจารย์สอนร้องเพลง และให้กลับไปฝึกฝนในการร้อง
การนำไปใช้ประโยชน์
จากที่อาจารย์สอนสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต รู้วิธีการย่อยงานให้กับเด็กพิเศษและที่สำคัญที่สุดคือ การจดบันทึกพฤิกรรมเด็กเพราะถ้าเราไม่จดเราอาจจะลืมเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นแล้วต้องมาเดาข้อมูลแทน
การประเมิน
ประเมินตนเอง
มีเรียนตรงต่อเวลา ชอบตอนอาจารย์สอนร้องเพลงเป็นพิเศษรู้สึกกระตือรือร้นมากค่ะ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน บางครั้งอาจจะชวนอาจารย์แวะข้างทางบ่อยครั้ง
ประเมินอาจารย์
อาจารย์จะยกตัวอย่างในการเรียนทุกครั้ง อาจารย์จะให้เพื่อนแสดงเป็นตัวอย่างให้ดูทำให้เข้าใจมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น