วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 17



บันทึกอนุทินครั้งที่ 17

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธ ที่ 1 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2558


เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


                                                                                 



           วันนี้เป็นวันที่มีการเรียนการสอนเป็ยคาบสุดท้ายของวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย   ก่อนจะปิดคลอสวันนี้อาจารย์ให้นักษาศึกษาสอบร้องเพลงหน้าชั้นเรียนที่ละคน โดยอาจารย์จะจับเลขที่ขึ้นมาแล้วให้คนนั้นออกมาหยิบเพลงที่ตัวเองจะได้ร้อง โดยมีตัวช่วยทั้งหมด 3 ตัวช่วย  บรรยากาศให้ห้องเรียนวันนี้ครื้นเครงสนุกสนานมีเสียงหัวเราะ


            ดิฉันจับได้เพลงจ้ำจี้ดอกไม้ และต้องร้องหน้าชั้นเรียน


                                                     เพลงจ้ำจี้ดอกไม้ 


                                           จ้ำจี้ดอกไม้  ดาวเรือง  หงอนไก่
                                           
                                                จำปี   จำปา   มะลิ  พิกุล

                                            กุหลาบ  ชบา  บานชื่น  กระดังงา

                                            เข็ม  แก้ว  ลัดดา  เฟื่องฟ้า  ราตรี


                                                                           ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
                                                                            
                                                                           เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน  





                          รวมภาพที่ประทับใจหลังเรียนกับ อ.ตฤณ  แจ่มถิน  มาตลอดทั้งเทอมค่ะ



                           






                           ตลอดทั้งเทอมที่เรียนวิชานี้ได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งคำปรึกษา ได้ทั้งกำลังใจจากอาจารย์มี่มอบให้นักศึกษา อาจารย์จะเล่าเรื่องจากประสบการณ์ให้นักศึกษาฟังเพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวนักศึกษา อาจารย์จะทำให้บรรยากาศในห้องเรียนไม่ตรึงเครียดระหว่างที่เรียนมีความสุขสนุกสนานมีรอยยิ้ม ได้มิตรภาพดีดีที่เกิดขึ้น เพื่อนคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อนๆน่ารักมากค่ะ








บันทึกอนุทินครั้งที่ 16


บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธ ที่ 22 เดือนเมษายน พ.ศ.2558


เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.



ความรู้ที่ได้รับ


โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคลแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลหรือ
 (Individualized Education Program)





แผน IEP

  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพ้เศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
  • การเขียนแผนครูจะต้องอยู่กับเด็ก 1 เทอมก่อนถึงจะเขียนแผน IBP ได้
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะ
  • เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IBP
  • ต้องรู้จักคนลึกๆ
  • ด้านดีของเด็กคืออะไร
  • ด้านที่ชอบคืออะไร
  • ด้สนครอบครัวเป็นอย่างไร อยู่กับใคร ใครพาไปหาหมอ
IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น หน้าที่ครูที่จะต้องเป็ฯคนเขียน
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถ
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตากศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะได้ไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็ฯแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็ฯแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็ฯแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานการพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ถ้าไม่รู้พฤติกรรมเด็กจริงๆ จะเขียนแทนไม่ได้
การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การจำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น
  • มาจากการสังเกตเด็กล้วนๆ
จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
  •   น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
  •   น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
  •   น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จุดมุ่งหมายระยะสั้น เป็นเชิงต้องจนพฤติกรรมเด็ก
  • เดือน 1 ต้องเห็นผล
  • จะสอนใคร
  • พฤติกรรมอะไร
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
การใช้แผน
  • เมือ่แผนทำสำเร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • การสอนเด็กพวกนี้อย่าลืมการย่อยงานเด็ดขาด
  • ต้องสังเกตเก็บรวบรวมข้อลมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการเด้กปกติ
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมรการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
  • การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน


         อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คนให้แต่ละกลุ่มเขียนแผน IEP โดยให้เพื่อนหนึ่งคนในกลุ่มเป็นเด็กพิเศษ เขียนเสร็จแล้วให้ส่งอาจารย์


การนำความรู้ไปใช้ 

                          สามารถนำไปเขียนแผน  IEP  ได้เหมาะสมกับเด็ก ดูอาการเด็กแต่ละประเภทให้ออกและส่งเสริมด้านที่เด็กไม่ถนัดหรือเด็กถนัดให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถเรียนรู้และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้


ประเมินตนเอง

                     ตั้งใจเรียนรู้จักแผน IEP  มากขึ้นแต่ก่อนไม่รู้วิธีการเขียนทำให้คิดว่าเขียนแผน IEP นั้นยากมาก แต่ความจริงถ้าเรามีความเข้าในแผนนี้เป็นแผนที่เขียนไม่ค่อยยากอย่างที่เราคิด

ประเมินเพื่อน

                   เพื่อนตั้งใจเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดแผน IEP  ที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์

ประเมินอาจารย์

                     อาจารย์สอนละเอียดมากจะอธิบายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ เวลาอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเขียนแผนอาจารย์จะคอยเดินดูและให้คำปรึกษา กลุ่มไหรที่เสร็จแล้วอาจารย์ดูให้ว่ามีจุดไหนต้องแก้ไขหรือเปล่า






                                                                     

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธ ที่ 15 เดือนเมษายน พ.ศ.2558


เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.









วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นเทศกาลวันสำคัญ







บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธ ที่ 8 เดือนเมษายน พ.ศ.2558




เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


                                                                              

ความรู้ที่ได้รับ

              อาจารย์สอนร้องเพลง 5 เพลงก่อนเข้าสู่บทเรียนบางเพลงร้องยากบางเพลงร้องง่าน มีทำนองที่เพราะ









เนื้อหาที่เรียน

                  การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
4.ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
  • การช่วยเหลือให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า " ฉันทำได้" 
  • พัฒนาความกระตือรือร้น
  • พัฒนาการกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดสอบ
ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีต่อการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ


การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • เด็กได้ยินที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซันซ้อนหรือไม่
การรับรู้ตวามเคลื่อนไหว
  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
  • ตอบสนองอย่างเหมาะสม
  • เด็กออทิสติกจะมีความรู้สึกช้ากว่าเด็กปกติ
  • เด็กออทิสติกประสาทสัมผัสจะช้า
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การกรอกน้ำ การตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
  • ลูกปัดไม่ขนาดใหญ่
  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
  • จิ๊กซอพลิก 6 ด้านเหมาะกับเด็กปกติแต่ไม่เหมาะกับเด็กพิเศษ
ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
  • การทดสอบ
  • การสำรวจ
  • การสืบสวน
  • การจัดกลุ่ม
  • การสเปสกับเวลา
  • การจำแนก กาจับกลุ่ม
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่นงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก
  • ให้พูดชมเด็กไว้เสมอไม่ว่าผลงานเด็กจะออกมาเป็นอย่างไรก็ตาม



การนำความรู้ไปใช้

                     ถ้าเราเข้าใจทักษพื้นฐานทางการเรียนสามารถนำไปจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเด็กพิเศษและต้องคำนึงถึงตัวเด็ก ต้องให้แรงเสริมในการทำงานเพื่อที่เด็กจะได้มีกำลังใจมากขั้น



ประเมินตนเอง

               มาเรียนตรงต่อเวลาตั้งใจเรียนเวลาอาจารย์สอน บางครั้งอาจจะมีอาการสมาธิสั้นเกิดขึ้นบ้างค่ะ

ประเมินเพื่อน

               เพื่อนบางคนมาเรามาเรียนสาย ในห้องมีการพูดคุยกันบ้างเป็นบางเวลาแต่ตั้งใจจดที่อาจารย์สอนเพิ่มเติม

ประเมินอาจารย์

                อาจารย์สอนละเอียดมากมีการยกตัวอย่าง บางครั้งอาจารย์พูดนอกเนื้อหาเพื่อให้นักศึกษาไม่เครียดและผ่อนคลาย





           


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13



บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธ ที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ.2558




เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.




       วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีกีฬาสีคณะ อาจารย์ให้เข้าร่วมกิจกรรม






ภาพบรรยากาศก่อนถึงวันแข่งเพื่อนๆช่วยกันจัดแสตน








จัดแสตนเสร็จอาจารย์สั่งพิซซ่ามาเลี้ยง





วันแข่งกีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์






ประเมินตนเอง

                  ดีใจมากที่ได้มีส่วนร่วมในการทำงานครั้งนี้ ถึงแม้ว่าอาจจะช่วยเพื่อนๆได้ไม่เต็มที่เท่าไหร่ค่ะ

ประเมินเพื่อน

                  เพื่อนๆทุกคนต้องใจทำงานมากช่วยเหลือมีการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้งานออกมาเสร็จอย่างสมบูรณ์

ประเมินอาจารย์

                   อาจารย์คอยให้ความช่วยเหลือในทุกๆเรื่อง อยู่ให้กำลังใจ ช่วยนักศึกษาทำงานออกมาเสร็จสมบูรณ์ กลับบ้านพร้อมนักศึกษา

                   





วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธ ที่ 25 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558


เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.






                วันนี้ไม่ไมการเรียนการสอน อาจารย์สอบเก็บคะแนนข้อเขียนจำนวน 5 ข้อ เพื่อวัดความรู้ที่ได้เรียนไปแล้ว 


การประเมิน

ประเมินตนเอง
      
                วันนี้ตั้งใจทำข้อสอบ ตอนที่ทำรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจกับคำตอบเพราะกลัวจะตอบผิด ทำให้รู้ว่าต้องอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น

ประเมินเพื่อน
 
                 เพื่อนมาตรงต่อเวลาและเข้ามานั่งเพื่อเตรียมทำข้อสอบ ตอนที่ทำเพื่อนตั้งใจมากค่ะ

ประเมินอาจารย์

                อาจารย์ออกข้อสอบเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนมา ถ้าเราอ่านมาเต็มที่ก็จะทำได้คะ




                                        









 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธ ที่ 18 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558


เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.




ความรู้ที่ได้รับ                                            

              ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์นำเกมมาให้เล่น เกมไร่สตอเบอรี่



เนื้อหาที่เรียน การส่งเสริมทักษะด้านต่างๆของเด็กพิเศษ

3.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  • ให้เด็กมีอิสระในการดำรงชีวิต
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
  • เด็กพิเศษเรียนรู้จากต้นแบบ เด็กพิเศษจะเลียนแบบต้นแบบ
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
  • เด็กพิเศษทำอะไรได้เองเป็นครั้งแรกในชีวิตพฤติกรรมที่ตามมาคือ เช่น ถ้าเด็กผูกเชือกรองเท้าเสร็จแล้วแก้แล้วผูกใหม่ อยากจะทำซ้ำหลายๆที
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินการจำเป็น (ใจแข็ง )
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  • "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้" (ห้ามพูดเด็ดขาด)
จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังไม่มีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตระกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
  • แยกกิจกรรมเป็นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้รู้สึกเป็นอิสระ


กิจกรรมศิลปะบำบัด
 
     ให้วาดจุดวงกลมตรงกลางกระดาษจุดเล็ก จุดใหญ่ตามใจชอบ โดยวงกลมวงแรกเป็นสีที่ชอบแล้วใช้สีตาม ขนาดเส้นรอบวงตามที่ตนเองชอบ เสร็จแล้วตัดกระดาษให้เป็นวงกลม อาจารย์จะติดลำต้นไว้หน้ากระดานแล้วให้แต่ละคนนำวงกลมของตนเองไปแปะที่ลำต้นตามตำแหน่งที่ตนเองต้องการ วันนี้เรียนรวมสองห้อง ทำให้ต้นไม้มีใบเยอะและเกิดความสวยงาม






ภาพนี้คือ ภาพวงกลมของฉัน




ภาพต้นไม้ที่ออกมาเสร็จสมบูรณ์




การนำไปประยุกต์ใช้
                      
                       สอนให้เด็กรู้จักการช่วยเหลือตนเองเริ่มจากกิจวัตรประจำตัวก่อนเพื่อให้เด็กพิเศษสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเด็กปกติได้ ในการทำศิลปะบำบัดสมารถรู้ความคิดของแต่ละคนได้ดูจาก ขนาด สัที่อยู่ภายในวงกลม

การประเมิน

ประเมินตนเอง

              กิจกรรมที่ทำในวันนี้สนุกและเพลิดเพลิน ทำให้รู้ถึงตัวตนของตนเองซึ่งสิ่งที่อาจารย์บอก ตรงกับดิฉันมากค่ะ ต้นไม้ที่สมบูรณ์แล้วมีความสวยงามและลงตัวมาก

ประเมินเพื่อน

              วันนี้เรียนรวมกันสองห้องเรียนทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเกิดความสนุกสนาน เพื่อนคุยกันเสียงดังแต่ก็ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงาน ต้นไม้ที่ช่วยกันแปะออกมาสวยงามและเกิดความลงตัว

ประเมินอาจารย์
                
              อาจารย์จะมีกิจกรรมมาให้ทำตลอด ทำให้นักศึกษานำไปใช้ได้จริงกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในแต่ละครั้งจะมีความหลากหลาย น่าสนใจมากค่ะ