วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4



บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธ ที่ 28 เดือนมกราคม พ.ศ.2558


เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.




       

       วันนี้ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ให้วาดภาพดอกไม้และระบายสีให้เหมือนภาพที่นำมาให้ดู พร้อมเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นในภาพ  ในแต่ละกลุ่มเรียนจะได้วาดภาพดอกไม้ไม่ซ้ำกัน กลุ่มเรียนของฉันได้วาดรูปดอกกุหลาบ  พอวาดเสร็จอาจารย์ให้เก็บไว้ก่อนแล้วเข้าสู่บทเรียนพอเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็เฉลยให้ฟังว่าภาพดอกกุหลาบที่อาจารย์ให้วาดซึ่งสอดคล้อกับเนื้อหาที่เรียน เราเห็นอะไรในภาพก็ให้เขียนเป็นความจริง  เพราะส่วนใหญ่ชอบเขียนคำที่เสริมแต่งให้ได้ความหมายที่ดี 


       เนื้อหาที่เรียนเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญญา
  • พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
  • ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
ครูไม่ควรวินิจฉย
  • การวินิจฉัย หมาถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
  • จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูทำอะไรบ้าง
  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กใรเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  • ให้ข้อแนะนำในการหาบุคคลที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  • สังเกตอย่างมีระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ชื่อเปียบเทียบตราประทับตัวเด็กตลอดไป                            
  • เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
  • ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
  • ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆช่วงเวลายาวนานกว่า
  • ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
  • เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  • บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญในเรื่องต่างๆได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ
  • การบันทึกต่อเนื่อง
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  • บันทึกลงบัตรเล็กๆ
  • เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
  • ครูพี่เลี้งสามารถช่วยบันทึกได้
การนับอย่างง่ายๆ
  • นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  • กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่งโมง
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของการบกพร่องมากกว่าชนิดบกพร่อง
  • พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การบันทึกต่อเนื่อง
  • ให้รายละเอียดได้มาก
  • เขียนทุกอย่างให้เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  • โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนช่วยเหลือ
การตัดสินใจ
  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  • พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

   ก่อนหมดเวลาวันนี้ได้ร้องหนึ่งเพลง  คือ เพลง ฝึกกายบริหาร











เพลง ฝึกกายบริหาร

ฝึกกายบิหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว













ภาพดอกกุหลาบที่ ดิฉันวาดค่ะ





การนำความรู้ไปใช้

           เวลาจะสังเกตเด็กพิเศษต้องสังเกตเด็กทั้งห้องก่อน ส่วนเด็กที่เข้าข่ายสามารถสังเกตรายบุคคลได้ เด็กที่เข้าข่ายสังเกตแล้วจดบันทึกเป็นรายบุคคล สามารถเลือกสังเกตอย่างมีระบบให้เหมาะสมกับเด็ก เวลาสังเกตอาจะจดเป็นโน้ตหรือให้ครูพี่เลี้ยงช่วยจดบันทึกทีกได้เพื่อจะได้ไม่ลืม เลือกแบบสังเกตที่หลากหลาย และต้องลำดับความสำคัญให้ได้เพื่อที่จะได้แก้ไขพฤติกรรมที่สำคัญที่สุดก่อนแล้วค่อยแก้พฤติกรรมที่รองลงมา


ประเมินตนเอง

  ตั้งใจเรียนวาดดอกกุหลาบให้ออกมาคล้ายแบบที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยตล้ายเข้าไหร่ จดเพิ่มเติมเวลาที่อาจารย์ยกตัวอย่าง ตอนร้องเพลงฝึกกายบริหารร้อง ต้องฝึกร้องให้มากขึ้นจะได้ร้องให้ตรงจังหวะ

ประเมินเพื่อน

  เพื่อนๆตั้งใจวาดดอกกุหลาบให้ออกมาคล้ายที่สุด มีเพื่อนหลายคนวาดได้คล้ายมาก พอถึงช่วงเวลาร้องเพลงทุกคนตั้งใจร้องเพลง

ประเมินอาจารย์

  อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนมาก มีการยกตัวอย่างประกอบให้ดู อาจารย์มีเพลงใหม่่ๆที่เกี่ยวกับเด็กมาให้ทุกครั้ง ทำให้รู้จักเพลงมากขึ้น





                                                                                             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น