วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5



บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธ ที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558


เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.





                                                         


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดนิเทศพี่ปี 5

อาจารย์ให้เวลาเคลียบล็อกค่ะ






                                                              




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4



บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธ ที่ 28 เดือนมกราคม พ.ศ.2558


เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.




       

       วันนี้ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ให้วาดภาพดอกไม้และระบายสีให้เหมือนภาพที่นำมาให้ดู พร้อมเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นในภาพ  ในแต่ละกลุ่มเรียนจะได้วาดภาพดอกไม้ไม่ซ้ำกัน กลุ่มเรียนของฉันได้วาดรูปดอกกุหลาบ  พอวาดเสร็จอาจารย์ให้เก็บไว้ก่อนแล้วเข้าสู่บทเรียนพอเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็เฉลยให้ฟังว่าภาพดอกกุหลาบที่อาจารย์ให้วาดซึ่งสอดคล้อกับเนื้อหาที่เรียน เราเห็นอะไรในภาพก็ให้เขียนเป็นความจริง  เพราะส่วนใหญ่ชอบเขียนคำที่เสริมแต่งให้ได้ความหมายที่ดี 


       เนื้อหาที่เรียนเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญญา
  • พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
  • ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
ครูไม่ควรวินิจฉย
  • การวินิจฉัย หมาถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
  • จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูทำอะไรบ้าง
  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กใรเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  • ให้ข้อแนะนำในการหาบุคคลที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  • สังเกตอย่างมีระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ชื่อเปียบเทียบตราประทับตัวเด็กตลอดไป                            
  • เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
  • ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
  • ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆช่วงเวลายาวนานกว่า
  • ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
  • เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  • บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญในเรื่องต่างๆได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ
  • การบันทึกต่อเนื่อง
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  • บันทึกลงบัตรเล็กๆ
  • เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
  • ครูพี่เลี้งสามารถช่วยบันทึกได้
การนับอย่างง่ายๆ
  • นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  • กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่งโมง
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของการบกพร่องมากกว่าชนิดบกพร่อง
  • พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การบันทึกต่อเนื่อง
  • ให้รายละเอียดได้มาก
  • เขียนทุกอย่างให้เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  • โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนช่วยเหลือ
การตัดสินใจ
  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  • พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

   ก่อนหมดเวลาวันนี้ได้ร้องหนึ่งเพลง  คือ เพลง ฝึกกายบริหาร











เพลง ฝึกกายบริหาร

ฝึกกายบิหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว













ภาพดอกกุหลาบที่ ดิฉันวาดค่ะ





การนำความรู้ไปใช้

           เวลาจะสังเกตเด็กพิเศษต้องสังเกตเด็กทั้งห้องก่อน ส่วนเด็กที่เข้าข่ายสามารถสังเกตรายบุคคลได้ เด็กที่เข้าข่ายสังเกตแล้วจดบันทึกเป็นรายบุคคล สามารถเลือกสังเกตอย่างมีระบบให้เหมาะสมกับเด็ก เวลาสังเกตอาจะจดเป็นโน้ตหรือให้ครูพี่เลี้ยงช่วยจดบันทึกทีกได้เพื่อจะได้ไม่ลืม เลือกแบบสังเกตที่หลากหลาย และต้องลำดับความสำคัญให้ได้เพื่อที่จะได้แก้ไขพฤติกรรมที่สำคัญที่สุดก่อนแล้วค่อยแก้พฤติกรรมที่รองลงมา


ประเมินตนเอง

  ตั้งใจเรียนวาดดอกกุหลาบให้ออกมาคล้ายแบบที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยตล้ายเข้าไหร่ จดเพิ่มเติมเวลาที่อาจารย์ยกตัวอย่าง ตอนร้องเพลงฝึกกายบริหารร้อง ต้องฝึกร้องให้มากขึ้นจะได้ร้องให้ตรงจังหวะ

ประเมินเพื่อน

  เพื่อนๆตั้งใจวาดดอกกุหลาบให้ออกมาคล้ายที่สุด มีเพื่อนหลายคนวาดได้คล้ายมาก พอถึงช่วงเวลาร้องเพลงทุกคนตั้งใจร้องเพลง

ประเมินอาจารย์

  อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนมาก มีการยกตัวอย่างประกอบให้ดู อาจารย์มีเพลงใหม่่ๆที่เกี่ยวกับเด็กมาให้ทุกครั้ง ทำให้รู้จักเพลงมากขึ้น





                                                                                             

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธ ที่ 21 เดือนมกราคม พ.ศ.2558


เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.















                      

           วันนี้ได้เรียนรวมสองกลุ่มเรียนทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานในการเรียน ได้เจอเพื่อนใหม่เพราะบางคนยังไม่เคยเจอหน้ากันมาก่อนเพราะมีเวลาเรียนไม่ตรงกัน


   วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษา


                          รูปแบบการจัดการศึกษา
  • การศึกษาปกติทั่วไป ( Regular  Education )  เกิดขี้นเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
  • การศึกษาพิเศษ  ( Special  Education )  มีเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม ( Integrated  Education หรือ Mainstreaming ) 
  • การศึกษาแบบเรียนรวม ( Inclusive Education )
              การศึกษาแบบเรียนร่วม กับ การศึกษาแบบเรียนรวม  สองคำนี้ต่างกันแต่มีความหมายใกล้เคียงกัน

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายการศึกษาแบบเรียนร่วม 
  • การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
  • หลักสูตรเหมือนเด็กปกติแต่จะมีแผนเฉพาะบุคคล
  • มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
  • ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  • ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
  • เด็กจะเข้าไปในช่วงที่ทำกิจกรรม เช่น ดนตรี ศิลปะ

การเรียนร่วมเต็มเวลา
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
  • เด็กต้องมีการน้อยถึงจะมาเรียนเต็มเวลาได้
  • ขึ้นอยู่กับครูศูนย์เด็กพิเศษเป็นคนเลือกเด็ก
  • มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
  • ตั้งแต่เริ่มเรียนน้องมีสถานะเหมือนเป็นนักเรียนคนหนึ่งในห้องเรียน

Wilson ,2007
  • การจัดการเรียนการสอนที่ยึดหลักปรัชญาของการอยู่รวมกัน
  • การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  • เด็กทุกคนเท่าเทียมกันมีสิทธิได้รับการศึกษาเท่าเทียมกัน


สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
  • การจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • เด็กเป็นผู้เลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  • เมื่อเด็กมาสมัครแล้วโรงเรียนไม่มีสิทธิปฏิเสธ




   

        ใกล้จะหมดเวลาอาจารย์สอนร้องเพลง 4 เพลงที่เหลือ คือ

เพลง อาบน้ำ

อาบน้ำซู่ซ่า  ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบู่ถูตัว  ชำระเหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว  เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมัว  สุขกายสบายใจ


เพลงแปรงฟัน

ตื่นเช้าเราปรงฟัน
กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงฟัน
ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
แปรงฟันที่ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง


เพลง พี่น้อง

บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย 
มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย  เราเป็นพี่น้องกัน


เพลง มาโรงเรียน

เรามาโรงเรียน เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทานสนุกถูกใจ
เราเรียนเราเล่น เราเป็นสุขใจ
ร่าเริงแจ่มใสเมื่อมาโรงเรียน





การนำความรู้ไปใช้

             นำไปใช้ในการจัดห้องเรียนให้เหมาะสมกับเด็กพิเศษ ครูและเพื่อนๆไม่ควรตั้งฉายาให้เด็กพิเศษเพราะน้องมีชื่อ  เวลาสอนเด็กพิเศษอย่าดูถูกว่าน้องทำไม่ได้แต่ใช้เชื่อเสมอว่าน้องสามารถทำได้ น้องจะทำได้มากน้อยเพียงใดขั้นอยู่กับครูผู้สอน  สอนเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับเด็ก


ประเมินตนเอง

       วันนี้มาสายตอนเข้าห้องตกใจว่าทำไมเพื่อนเยอะ แล้วอาจารย์ก็บอกว่าวันนี้มีเพื่อนอีกกลุ่มมาเรียนด้วย เพื่อนเยอะทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน ตอนอาจารย์สอนร้องเพลงวันนี้ดิฉันร้องเพลงดีขึ้นกว่าเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว

ประเมินเพื่อน

       ห้องเรียนวันนี้เสียงดังนิดหน่อยเพราะเพื่อนมาเรียนรวมกันสองกลุ่ม ทำให้รู้จักกันมากขึ้น เพื่อนช่วยกันตอบคำถามเวลาอาจารย์ถาม ตอนร้องเพลงทุกคนตั้งใจมากเพราะร้องเพลง เพื่อนๆร้องเพลงเพราะ

ประเมินอาจารย์

       วันนี้นักศึกษามาเรียนรวมกันทำให้เสียงดัง แต่อาจารย์มีวิธีทำให้นักศึกษาหยุดคุยโดยการพูดว่าอย่าคุยมากของแต่ละภาค ทำให้รู้จักภาษามากมากขึ้น อาจารย์นำร้องเพลงเพราะมากแล้วให้นักศึกษาร้องตาม ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนผ่อนคลายมาก